การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าและบทบาทของชาตินิยมแห่งพระพุทธศาสนา

ในมุมมองโดยคนทั่วไปเห็นว่าพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานความสงบ ดังนั้นเป็นที่น่าสะเทือนใจที่ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ในประเทศพม่ามีบทบาทสำคัญอย่างเห็นได้ชัดในการต่อต้านชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม

อย่างไรก็ตาม ย้อนหลังไปในปี ค.ศ. 2007 เมื่อพระภิกษุสงฆ์หลายหมื่นรูปและประชาชนผู้ประท้วงรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลพม่าโดยเดินขบวนอย่างเสรีบนถนนในเมืองหลวงเพื่อขับไล่รัฐบาลทหารพม่า แต่เมื่อไม่นานมานี้พม่าก็ทำให้คนทั้งโลกประลาดใจและเริ่มจะมีความหวังเมื่อพม่าเริ่มจะถอยตัวเองจากการเป็นรัฐประหาร ตามด้วยการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2010 และ 2012 ในขณะนั้นมีลัทธิอนุรักษ์นิยมแห่งชาติกำเนิดขึ้น ทำให้การดำเนินการประท้วงในประเทศพม่าซับซ้อนมากขึ้น เมื่อมีการประท้วงอีกครั้งโดยมีกลุ่มพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำ แต่ว่าวัตถุประสงค์ของการประท้วงในครั้งนี้ไม่ได้ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า แต่กลับต่อต้านศาสนาอิสลามแทน

โดยหลักการแล้ว Burma’s Buddhist Sangha คณะสงฆ์ ได้ปลีกตัวออกห่างจากศาสนากิจ ดังนั้นบทบาทคณะสงฆ์จึงได้ถูกผลักดันให้มีส่วนร่วมในหน่วยงานที่ทำงานด้านการเมืองและเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมในพม่า คณะสงฆ์ได้ก้าวสู่เส้นทางด้านการเมืองเพราะคิดว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่ปกป้องประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนเป็นเอกลักษณ์

ชาตินิยมและพระพุทธศาสนามีประวัติร่วมกันมายาวนานในประเทศพม่า จึงทำให้คณะสงฆ์มีบทบาทนำในหมู่พระภิกษุสงฆ์และมีอิทธิพลมากในสังคมพุทธศาสนิกชนชาวพม่า 

พระภิกษุสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชน ตั้งแต่อังกฤษผนวกพม่าให้เป็นหนึ่งเดียวในศตวรรษที่ 19 การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวพุทธเป็นเวลาหลายสิบปี รวมทั้งการล่มสลายของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ถูกยกเลิกโดยชาวอังกฤษ เพราะโรงเรียนศาสนาคริสต์ได้แพร่หลายในครอบครัวที่ร่ำรวย รวมทั้งแรงงานชาวอินเดียและชาวมุสลิมจากประเทศอินเดียและบังคลาเทศได้อพยพเข้ามาในประเทศพม่าเพิ่มมากขึ้น 

ทิศทางการย้ายถิ่นเป็นเหตุให้มีการกระตุ้นทัศนคติที่ต่อต้านชาวอินเดียมากขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างในสังคม ชาวพุทธอ้างว่าชาวอินเดียทำให้เกิดการผูกขาดทางตลาด ด้วยเหตุนี้ความกดดันทางสังคมได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อชาวมุสลิมที่มาจากรัฐ เบงกอลประเทศอินเดียเริ่มแต่งงานกับหญิงพม่า ซึ่งการแต่งงานระว่างคนต่างเชื้อชาตินั้นถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ปกติในชาวมุสลิมที่ศาสนาอนุญาตให้มีภรรยาหลายคน หญิงพม่าที่แต่งานกับชาวมุสลิมจะผันตัวเองมานับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นชาวมุสลิม ประเด็นนี้ทำให้พระภิกษุสงฆ์ที่นิยมลัทธิชาตินิยมได้ยกมาอ้างอย่างกังวลว่า การเพิ่มจำนวนประชากรมุสลิมนั้นจะมีอิทธิพลมากขึ้น ถึงแม้ว่าประชากรมุสลิมจะมีน้อยนิดเมื่อเทียบกับประชากรชาวพุทธที่เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม 

มีการต่อต้านชาวอินเดียและต่อมาการจลาจลก็ได้รุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึงแม้จะมีชาวมุสลิมครึ่งหนึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเมืองย่างกุ้งเมืองหลวงของพม่า ได้มีการนองเลือดเกิดขึ้นในสงครามครั้งที่ 2 ในรัฐอาระกัน ทางทิศตะวันตกชายแดนพม่ากับบังคลาเทศ เมื่อไม่นานมานี้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็ได้เข้าร่วมในเหตุปะทะกับชาวมุสลิมในเมืองมัณฑะเลย์ ปี ค.ศ. 1997 เมืองตองู ปี ค.ศ. 2001 และจยอกแส ปี ค.ศ. 2003 การจลาจลได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างในรัฐอาระกัน ในปี ค.ศ. 2012 การจลาจลที่เกิดขึ้นเกือบทุกครั้ง มีรายงานว่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมีส่วนร่วมก่อเหตุจลาจลเผาทำลายมัสยิดและทำลายข้าวของมุสลิม  

ผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายเล่าว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น กลุ่มสมาชิกคณะสงฆ์มีบทบาทสำคัญที่จุดฉนวนไฟเพื่อมีการต่อต้านชาวมุสลิม ถึงแม้มีพระภิกษุสงฆ์จำหนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการต่อต้านก็ตาม แต่สมาชิกคณะสงฆ์ทั้งหลายได้กระจายข่าวความกังวลและมีความคิดที่ว่า ชาวมุสลิมฉกชิงหญิงพม่าและปล่อยข่าวลือที่ว่าชาวมุสลิมได้รับเงินแลกกับการแต่งงานกับหญิงพม่า แต่เรื่องที่พระภิกษุสงฆ์ได้รับตำแหน่งสูงในสังคมนั้น ไม่มีการตั้งคำถามอย่างเปิดเผยโดยหน่วยรัฐใดและประชาชน อีกอย่างหนึ่งกฎหมายสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 1982 ได้ตัดสิทธิชาวโรฮิงยา 1 ล้านคนและชาวอินเดียที่เกิดในประเทศพม่า รวมทั้งพลเมืองจีน นั่นแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องประชาชนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ   

พระภิกษุสงฆ์มีการบรรยายการปฏิบัติต่อต้านชาวมุสลิมตั้งแต่เรื่องเล็กๆจนถึงขั้นรุนแรง ดังเช่น เจ้าอาวาส วิน ตู่ ละ จากวัดมะโซ หยิ่นวัดที่มีชื่อเสียงในเมืองมัณฑะเลย์ เขาเป็นพระภิกษุสงฆ์หัวรุนแรง ก่อนหน้านั้นทางรัฐได้สั่งจำคุกเจ้าอาวาส วีน ตู่ ละในปี ค.ศ. 2003 ข้อหาก่อความไม่สงบในการต่อต้านชาวมุสลิมและ ต่อมาเขาก็ได้ถูกปล่อยตัวในปี ค.ศ. 2012 เขาได้ปฏิเสธคำกล่าวหาโดยอ้างว่า เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นและเขาแค่เทศนาปกติเพื่อที่จะปกป้องรักษาพระพุทธศาสนา แต่ว่าบทสวดของเขาได้เรียกร้องเพื่อให้มีการแบ่งแยกชาวมุสลิม เช่นการคว่ำบาตรร้านค้าชาวมุสลิมและปลูกฝังความคิดเพื่อที่จะกีดกันการแต่งงานกับชาวมุสลิม นิตยสาร Time จึงให้ฉายาเขาว่า “พุทธก่อการร้าย”

พระภิกษุสงฆ์บางรูปใช้วิธีที่ยืดหยุ่นเพื่อที่จะหาทางแก้ปัญหาที่ดีกว่า แม้กระนั้นก็ตามพระบางรูปได้เสนอว่า ถ้าไม่ใช้มาตรการ การปกป้องที่เด็ดขาด พระพุทธศาสนาก็จะสูญหายได้ พวกเขาได้ยกประเด็นการสาบสูญพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถานและอินโดนิเซีย นักวิชาการหลายท่านได้อ้างว่า ศาสนาอิสลามสมควรถูกตำนิที่มีส่วนทำให้ศาสนาพุทธสาบสูญในหลายๆ ประเทศ ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์หลายท่านให้ตัวอย่างเช่นกันว่า เป็นเพราะชาวมุสลิมก่อกวนชาวพุทธ พวกเขายังได้แสดงความกังวลอีกว่า ประชากรมุสลิมมีการเติบโตเร็วกว่าประกรชาวพุทธและยังมีเรื่องการอพยพจากประเทศบังคลาเทศที่เป็นเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์หัวรุนแรงหรือเสรีนิยมก็ตาม พวกท่านเห็นว่าประเทศพม่าและชาวพุทธต้องต่อต้านศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด

Thousands of Buddhist monks protest over the Organisation of the Islamic Conference (OIC) opening an office in Myanmar. Htoo Tay Zar/Demotix. All Rights Reserved.

ท่ามกลางความหวาดกลัวและประชากรที่มีแนวความคิดที่เป็นชาตินิยมเพิ่มขึ้น กลุ่มขณะสงฆ์ที่มีอิทธิพลและประชาชนทั่วไปเริ่มที่จะรวมตัวกันต่อต้านอิทธิพลของชาวมุสลิม เจ้าหน้าที่หลายท่านจากหน่วยรัฐเช่น รัฐมนตรีภายในประเทศ คุณ ซาน ซิ่นได้ปกป้อง เจ้าอาวาส วีน ตู่ ละและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่ต่อต้านชาวมุสลิม ประเทศที่ควบคุมโดยรัฐบาลอย่างเคร่งครัดและยาวนานนี้ สังเกตเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ทางรัฐส่งเสริมยุทธวิธีที่หนุนหลังโดยจัดให้มีคำบรรยายต่อต้านชาวมุสลิมอย่างเปิดเผย

แม้กระทั่งในอดีตพระภิกษุสงฆ์ที่เคยวิจารณ์รัฐบาล ยังได้พุ่งตัวเองและหันไปสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพุทธชาตินิยม ที่เห็นได้ชัดคือ เจ้าอาวาส ตี่ ตะ กู่ ผู้ดูแลมหาวิทยาลัยเผยแพร่ศาสนาพุทธตี่ตะกู่ ในมัณฑะเลย์และเป็นผู้ที่เข้าร่วมรณรงค์โครงการการกุศล เขาเคยประณามรัฐบาลพม่าอย่างกล้าหารหลังจากที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงทำลายกลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาลในปี ค.ศ. 2007 แม้กระนั้นก็ตาม เขาได้สนับสนุนกฎหมายการสำรวจสำมโนประชากรอย่างกว้างขวางในพม่า ดังได้อ้างอิงจากหนังสือ รัดตะบ่าละมิ่นขุ่นมย่า หนังสือที่ตีพิมพ์เป็นภาษาพม่า ในนั้นเจ้าอาวาส ตี่ ตะ กู่ได้บอกไว้อย่างเปิดเผยว่า เมื่อพูดถึงเรื่องความอยู่รอดของชาติ "ความปลอดภัยของชาติต้องมาก่อนสิทธิมนุษยชนเสมอ” สังเกตเห็นได้ว่า “แม้กระทั่งสหรัฐยังให้ความสำคัญความมั่นคงของชาติเหนือกว่ามาตรฐานสิทธิมนุษย์ชน" 

การสัมมนาพระภิกษุสงฆ์ที่จัดขึ้นในย่างกุ้งปีที่แล้ว ได้มีการเสนอในรัฐสภาเพื่อออกกฎหมายบังคับให้ชายที่นับถือต่างศาสนาเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธแทนหากเขาต้องการแต่งงานกับหญิงที่นับถือศาสนาพุทธ หากไม่ทำตามต้องถูกจำคุก เกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงแม้ว่านักวิชาการหญิงหลายท่านออกมาต่อต้านการนำเสนอโดยเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่ก็มีผู้สนับสนุนทั้งหลายอ้างว่ามีประชาชนหลายล้านคนลงนามในอุทธรณ์ เพื่อแสดงให้รัฐสภาเห็นว่าพวกเขาสนับสนุนการร่างกฎหมายนี้

ไม่ใช่ว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปจะเห็นด้วยกับการที่เพื่อนเขามีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อสื่อได้สำภาษณ์พระภิกษุสงฆ์ ปะ ตั่น ทะ พารณะ วรรธนะ ผู้นำจากการปฏิวัติผ้าเหลือง ในปี ค.ศ. 2007 เขาได้กล่าวว่า “เราไม่สามารถคิดเอนเอียงทางศาสนาได้ ถ้าเราทำเราก็จะกลายเป็นชาติที่มีระบบการปกครองที่ยืดถือพระเจ้าเป็นหลัก เราก็จะหวนกลับไปสู่ยุคที่ปกครองโดยระบบศักดินา” แต่พระภิกษุสงฆ์หัวรุนแรงบางรูปถอยห่างออกจากความคิดนี้ เพราะได้รับอิทธิพลจากเจ้าหน้าที่หน่วยรัฐและรัฐสภาผู้ร่างกฎหมายวางแผนร่วมกันยื่นร่างกฎหมายการแต่งงานระหว่างต่างศาสนาโดยมีพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายให้พรเพื่อกฎหมายนี้จะได้มีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น 

ความคืบหน้าเพื่อสันติภาพในพม่าและความเจริญในหมู่เหล่าชนเผ่าที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมยังเป็นที่สงสัยตราบเท่าที่ความกลัว ความเกลียดชังและความแบ่งแยกยังซ่อนอยู่ในความเป็นชาตินิยม ทั้งพระภิกษุสงฆ์และประชาชนในสังคมต้องถามตัวเองแล้วว่าเอกลักษณ์ประจำชาติแบบไหนที่เขาต้องการในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม เพราะสันติภาพ ความมั่งคั่งและความเป็นประชาธิปไตยไม่ได้มาจากเอกลักษณ์ประจำชาติที่มีชาติพันธุ์อันใดอันหนึ่งหรือศาสนาอันใดอันหนึ่งเป็นใหญ่ ในอนาคตเอกลักษณ์ประจำของประเทศพม่าควรที่จะเป็นไปในแบบ การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวโดยเคารพความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ไม่ควรให้ความสำคัญให้ศาสนาพุทธมีอิทธิพลเหนือศาสนาและวัฒนธรรมอื่นๆในประเทศพม่า